สกู้ปทีนทอล์กอาเซียน : นักเรียนแพทย์ มฟล. แชร์ประสบการณ์รักษา ‘ชาวลาว’
11 พฤษภาคม 2016

       จากการลงพื้นที่ไปร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง องค์การอนามัยโลก(WHO) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพ (ศสช.) ภายใต้ชื่องาน” เชื่อสถาบัน สานเครือข่าย DHS Academy สู่ศตวรรษที่ 21” ในโครงการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ภายในงานได้พบเจอกับเหล่านักศึกษาแพทย์ สำนักวิชาแพทย- ศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่ได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์และนำเสนอไปยังหนังสือพิมพ์มติชน คอลัมน์ทีนส์ทอล์กอาเซียน พร้อมได้รับความอนุเคราะห์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในสกู้ปแชร์ประสบการณ์รักษาชาวลาว ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

       สวัสดีครับ ผมชื่อ “มิก-นัฐวุฒิ เหมันต์วิเชียร” เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย                 แม่ฟ้าหลวง วันนี้ผมจะมาแชร์ประสบการณ์อาเซียนกับการลงพื้นที่เพื่อเรียนรู้บริบทชุมชน แต่ผมไม่ได้ข้ามประเทศ      ไปไหนนะครับ ยังอยู่ในประเทศไทย ประสบการณ์ในข้างต้นเกิดขึ้นหลังผมลงไปเรียนรู้และเก็บข้อมูลด้านงานพยาบาล สาธารณสุข โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เมื่อไม่นานมานี้  พื้นที่ อ.เชียงของ ที่ลงไปเรียนรู้เกี่ยวกับเวชศาสตร์ชุมชน มีผู้ป่วยชาวลาวที่ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มารักษาที่ฝั่งไทยจำนวนมาก ซึ่งพี่ๆ พยาบาลให้ข้อมูลว่า โรงพยาบาลเขตชายแดนของ สปป.ลาวมีแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอ ชาวลาวส่วนมากจึงต้องข้ามฝั่งมาหาหมอที่ฝั่งไทย

1491737665366

“เมื่อทำงานในพื้นที่จริง ทำให้ผมเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจากโรงพยาบาลในเมืองหลวง หรือในห้องเรียน          ด้วยความแตกต่างทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม และลักษณะของโรคภัย ที่พี่หมอ และพี่ๆพยาบาลต้องใช้ทักษะทั้งหมดที่เรียนมา เพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ รวมถึงชาวลาวจำนวนมากที่ป่วยด้วยโรคภัยที่แตกต่าง อีกทั้งยังมีอุปสรรคเรื่องภาษา และการสื่อสาร เพราะไม่สามารถพูดไทยได้ หรือพูดไม่คล่อง จนบอกอาการเจ็บป่วยผิดเพี้ยน      ต้องอาศัยล่ามช่วยแปลให้แพทย์ได้เข้าใจอาการ แต่ทว่าล่ามก็มีน้อย ฉะนั้น ถ้าเราได้มาคลุกคลีกับชุมชนตั้งแต่         ช่วงเรียน จะช่วยให้เข้าใจคนป่วยได้หลากหลายมากขึ้นได้ครับ เมื่อจบเป็นหมอ ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจระหว่างกัน เวลาที่เหลือก็สามารถนำไปค้นคว้าหาความรู้หรือพัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อยอดได้มากขึ้น”

สำหรับนักเรียนแพทย์ มฟล.ทุกคนจะได้ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อเรียนรู้งานกับอาจารย์หมอและพี่พยาบาล รวมถึงบุคลากรด้านสุขภาพตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 แต่ละปีจะกำหนดประเด็นในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า รักษา หรือป้องกันโรคภัยได้ดีกว่าการปล่อยให้ชาวบ้านเจ็บไข้จนเดินทางมาหาหมอที่โรงพยาบาล ที่บางครั้งอาการหนัก และเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตโดยไม่จำเป็น

“ผมคิดว่าการเรียนรู้ด้านการแพทย์ที่เข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง จะทำให้นักศึกษาสังเกต เก็บเกี่ยวความรู้ พบเห็นความจริงในสิ่งที่ไม่เคยเจอ หรือที่ในห้องเรียนไม่สามารถให้ ยังฝึกให้ผู้เรียนขวนขวาย ประมวลสิ่งรอบตัวด้วยตนเอง ทั้งหมดจะช่วยเพิ่มศักยภาพ รวมทั้งเติมแรงบันดาลใจได้อย่างดีให้กับผู้เรียน”

ล่าสุด มหาวิทยาลัยของผม ร่วมมือกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพ (ศสช.) จัดงาน “เชื่อมสถาบัน สานเครือข่าย DHS Academy สู่ศตวรรษที่21”ภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนกำลังผลักดัน และสร้างคนด้านสุขภาพในมิติใหม่       ผมภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาให้ระบบสุขภาพของไทยในอนาคตให้เข้มแข็งมากขึ้น และช่วยเหลือรักษาผู้คนทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อบ้านอย่างลาว ถ้านักเรียน นักศึกษาแพทย์รุ่นหลังได้รับโอกาสลงพื้นที่ชุมชน ได้รับโอกาสติดตามแพทย์พยาบาลรุ่นพี่ ช่วยรักษาชาวบ้านที่หลากหลายทางวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ทั้งในและนอกประเทศมากขึ้น คราวนี้ไม่แน่นะครับอนาคตไทยอาจจะมีแพทย์ที่เต็มใจรักษาโรคภัยให้ชาวบ้านในพื้นที่เต็มใจรักษาโรคภัยให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้นรวมถึงป้องกันและรักษาโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย

1491737628686

READS :516 views