โครงการอบรมหลักสูตรแกนนำพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ประกาศรายชื่อ ผู้ผ่านการคัดเลือก เข้าร่วมโครงการ อบรมหลักสูตรแกนนำพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ด้วยโครงการพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ รับสมัครอาจารย์ สังกัดสถาบันการศึกษาด้านสุขภาพ ที่สนใจงานด้านการพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ และต้องการพัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมกิจกรรมอบรมครูแกนนำ เพื่อนำผลไปพัฒนาบุคลากรและการจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา โดยมีรายละเอียด ตามไฟล์แนบนั้น

บัดนี้ คณะกรรมการได้มีมติคัดเลือกผู้เข้าเข้าร่วมโครงการ อบรมหลักสูตรแกนนำพัฒนาการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ ตามรายชื่อดังด้านล่าง

ทั้งนี้ขอขอบคุณผู้สมัครทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่สละเวลาและให้ความสนใจสมัครเข้าอบรมในโครงการฯ ตลอดจนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะได้รับความกรุณาจากท่านในโอกาสต่อไป

 

 

_______________________________________________________________________________________________________

 โครงการ   “การพัฒนาหลักสูตรบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ”

“Development of training program for the trainer in health profession education

หลักการและเหตุผล

               ด้วยระบบสุขภาพในศตวรรษที่ 21 กำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และระบาดวิทยา เช่น การเกิดขึ้นของโรคติดต่ออุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำ ความชุกที่เพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อ ซึ่งสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภคอาหาร การเพิ่มขึ้นของโรคที่เกิดจากอุบัติเหตุ และ  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สัดส่วนและจำนวนผู้สูงอายุที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพและสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบสุขภาพและบุคลากรด้านสุขภาพทั้งในระดับสากลและในประเทศไทย อีกทั้งกระแสโลกที่ผันผวน โลกยุค VUCA (VUCA World) ความรู้เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน ซับซ้อนและคลุมเครือการศึกษาถือเป็นรากฐานในการพัฒนาคน ดังนั้นการศึกษาจึงต้องปรับเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญที่ความรู้ มาเป็นการให้ความสำคัญที่กระบวนการคิดของผู้เรียน ให้มีทักษะที่จำเป็นตามแนวทางการพัฒนาในศตวรรษที่ 21

อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาการศึกษา เป็นผู้ที่ให้การส่งเสริมสนับสนุนและจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ของสถานศึกษาอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาจำเป็นต้องหมั่นฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต้องเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้รู้เท่าทันกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน จะเป็นการพลิกบทบาทของอาจารย์ให้มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียนและในระดับสากล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดทำแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปบนพื้นฐานของการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต โดยใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเป็นเครื่องมือการพัฒนาและการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาลและกรอบการพัฒนาอาจารย์มืออาชีพของต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถทำให้เห็นพัฒนาการของอาจารย์ได้อย่างต่อเนื่อง และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาผู้เรียนและผลิตบัณฑิตด้านสุขภาพให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) ได้เล็งเห็นความสำคัญในแนวทางการพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของอาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ จึงสนใจศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และบุคลากรฯ ผ่านแกนนำวิทยากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ เพื่อการพัฒนาศักยภาพ และจัดทำมาตรฐานในการพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาของอาจารย์และบุคลากรการศึกษาด้านวิชาชีพสุขภาพ โดยผู้เข้าอบรมสามารถเลือกเรียนได้ทั้งรูปแบบ onsite และ online โดยควบคุมวิธีการเรียนเอง สามารถใช้ช่วงเวลาที่สะดวก เรียนตามอัธยาศัย ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความพร้อมและโอกาส ไม่จำกัดเวลาเรียน ไม่จำกัดจำนวนครั้งของการเรียน อีกทั้งสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องใช้ระเบียบการลาศึกษาฝึกอบรม

การศึกษาครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะอาจารย์หรือบุคลากรทางการศึกษายุคใหม่สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่ สร้างแกนนำในการพัฒนาอาจารย์หรือบุคลากรด้านการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาและการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคุณภาพของอาจารย์เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการเรียนการสอนจะช่วยส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาบุคลากรสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อทั้งสถาบันผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ สภาและสมาคมวิชาชีพฯ ในการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อผู้เรียนมากที่สุดและทำให้สามารถผลิตบัณฑิตด้านสุขภาพที่มีคุณภาพซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อจัดทำแนวทางและหลักสูตร “การพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ”

2.เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางและหลักสูตร “การพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ”

3.เพื่อถอดบทเรียนการพัฒนาแกนนำบุคลากรด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

4.เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายและนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรแกนนำด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ ได้แก่ กายภาพบำบัดศึกษา ทันตแพทยศาสตรศึกษา เทคนิคการแพทยศาสตรศึกษา พยาบาลศาสตรศึกษา แพทย์แผนไทยศึกษา แพทยศาสตรศึกษา เภสัชศาสตรศึกษา สาธารณสุขศาสตรศึกษา และ สัตวแพทยศาสตรศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผลการศึกษาที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพ

2.มีบุคลากรแกนนำที่สามารถพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ด้านการศึกษาให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง

 

สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับ 

1.การสนับสนุนค่าลงทะเบียน

2.คะแนน/หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

3.ประกาศนียบัตรเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรม

 

กำหนดการ

31 สิงหาคม 2565                                   ปิดรับสมัคร **ขยายเวลารับสมัคร ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 สิงหาคม 2565

กันยายน  2565                                   ประกาศผลการคัดเลือก

กันยายน 2565                                           ปฐมนิเทศ

ตุลาคม 2565 – พฤษภาคม 2566      อบรม ฝึกปฏิบัติ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ แบบonsite และ online จำนวน 6 Module

เมษายน – มิถุนายน 2566                      นำเสนอผลงานการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

กรกฎาคม 2566                                        ติดตาม สรุปผล และถอดบทเรียน

ผู้ทรงคุณวุฒิ

  1. ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว          คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  ประธาน ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย รองอธิการบดี สถาบันพระบรมราชชนก   เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ
  1. รศ.ดร.ดรุณี รุจกรกานต์                  ผู้เชี่ยวขาญด้านพยาบาลศาสตร์ศึกษา ที่ปรึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  1. ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตราฐานการศึกษาแพทยศาสตร์
  2. รศ.นพ.อานุภาพ เลขะกุล             ผู้เชี่ยวชาญด้านแพทยศาสตรศึกษา
  3. ผศ.ดร.กร ศรเลิศล้ำวาณิช          คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  4. ผศ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา         ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

รายละเอียดเพิ่มเติมที่

มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ

http://www.healthprofessionals21thailand.org

ผู้ประสานงาน คุณ ธนวันต์ โทร 097 117 5041

E-mail:  healthprofessionals21@gmail.com