วันที่ 16 มีนาคม 2561
ห้องประชุมสานใจ ชั้น1 ชั้น6 อาคาารสุขภาพแห่งชาติ ซอย6 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
โครงการจัดการความรู้สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ เรื่อง “Share and Lesson to be learned” วันที่ 16 มีนาคม 2561

โครงการจัดการความรู้สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ

เรื่อง  “Share and Lesson to be learned”

วันที่ 16 มีนาคม 2561
ณ ห้องประชุมสานใจ ชั้น1 ชั้น6 อาคาารสุขภาพแห่งชาติ ซอย6 กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี

หลักการและเหตุผล

การจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในศตวรรษที่ ๒๑ จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งรูปแบบ วิธีการและเนื้อหาสาระในการศึกษา รวมถึงสร้างกลไกทบทวนตรวจสอบให้สอดคล้องกับความจำเป็นที่แท้จริงของประชาชนและระบบสุขภาพ ให้มีการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตและประสบการณ์จริง รวมถึงการทำงานร่วมกันในลักษณะสหวิชาชีพระหว่างบุคลากรด้านสุขภาพ (Inter-professional collaboration) ที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการด้านสุขภาพ  ปัจจุบันองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพในประเทศไทย เช่น สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ได้พยายามพัฒนากลไก และมาตรการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ปรับระบบการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายมากขึ้น อันจะนำไปสู่การจัดการศึกษาที่เน้นการสร้างสมรรถนะ (competency-based education model) หลักสูตรสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพต้องสอดคล้อง ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนและระบบสุขภาพทั้งในปัจจุบัน และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม และภาวะ/ความต้องการด้านสุขภาพในอนาคต สถาบันการศึกษาต้องวางระบบ กลไก และการสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง และขยายไปสู่อาจารย์ผู้ร่วมสอน การจัดการศึกษา ต้องมีการเรียนรู้ที่ผสมผสานทั้งรายวิชาในหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตร และในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาต้องมีความรู้ความสามารถเพียงพอ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมสุขภาพ ต้องเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และสามารถพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพให้สอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกและยังมีความสามารถรอบตัว (versatility) นอกจากนี้จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบประกันและรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาอันที่เป็นยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล

ดังนั้น คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์กำหนดนโยบายการจัดการศึกษาและการจัดการความรู้สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ จึงเห็นสมควรให้มีเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และติดตามการจัดการศึกษาสำหรับบุคลกรด้านสุขภาพในแต่ละวิชาชีพ

 วัตถุประสงค์

  1. ผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ
  2.  ติดตามนโยบายในการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ

วิธีการดำเนินการ

  1. อภิปรายหมู่
  2. การนำเสนอเพื่อแบ่งปันประสบการณ์นวตกรรมการศึกษา
  3. อภิปรายกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น